ศูนย์ราชการประเทศพม่า |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)
42.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
GDP รายบุคคล
1,400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
อัตราการเจริญเติบโต GDP
5.3% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
GDP แยกตามภาคการผลิต
- ภาคการเกษตร 43.1%
- ภาคอุตสาหกรรม 20%
- ภาคการบริการ 36.9% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
อัตราการว่างงาน
5.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)
7.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
ผลผลิตทางการเกษตร / ภาพ |
ผลผลิตทางการเกษตร
ข้าว เมล็ดพืชประเภทถั่ว ถั่ว งา ถั่วลิสง อ้อย ไม้เนื้อแข็ง ปลาและผลิตภัณฑืจากปลา
อุตสาหกรรม
แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ทองแดง ดีบุก ทังสเตน เหล็ก ซีเมนต์ อุปกรณ์ก่อสร้าง เวชภัณฑ์ ปุ๋ย ก๊าซธรรมชาติ เสื้อผ้าสำเร็จรูป หยกและอัญมณี
อัตราการเติบโตภาคอุตสาหกรรมการผลิต
4.3% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
ท่าอากาศยานนานาชาติ นครย่างกุ้ง |
ดุลบัญชีเดินสะพัด
1.549 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
มูลค่าการส่งออก
8.586 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ.2553)
สินค้าส่งออก
ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง สินค้าประมง ข้าว ยาง อัญมณี และแร่ธาตุ
ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ
ไทย 38.3% อินเดีย 20.8% จีน 12.9% ญี่ปุ่น 5.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
มูลค่าการนำเข้า
4.224 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯf.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
สินค้านำเข้า
เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และเหล็ก
ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ
จีน 38.9% ไทย 23.2% สิงคโปร์ 12.9% เกาหลีใต้ 5.8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
สกุลเงิน
จั๊ต (Kyat)
สัญลักษณ์เงิน
MMK
ตลาดหลักทรัพย์แห่งใหม่ของพม่า |
ด้านการลงทุน
- ไทยและพม่าได้มีการเจรจาจัดทำความตกลงการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ระหว่างกันเมื่อวันที่ 15-16 กันยายน 2548 ที่กรุงเทพฯ โดยสามารถบรรลุข้อตกลงได้ในทุกข้อบทในร่างความตกลงฯ และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและพม่าได้ร่วมลงนามย่อในร่างความตกลงฯ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะนำร่างความตกลงฯ เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและลงนามต่อไป
ปี 2551 การค้าไทย-พม่ามีมูลค่า 4,707.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 44.44
มูลค่าการนำเข้า
ปี 2551 ไทยนำเข้าจากพม่ามูลค่า 2,561.18 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 46.70
มูลค่าการส่งออก
ปี 2551 ไทยส่งออกไปพม่ามูลค่า 1,019.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2550 ร้อยละ 38.99
ดุลการค้า
ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับพม่า ในปี 2551 ไทยขาดดุลมูลค่า 2,044.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าไทยส่งออกไปพม่า
ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก
สินค้านำเข้าจากพม่า
ก๊าซธรรมชาติ ไม้ซุง ไม้แปรรูป สินแร่โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ เหล็กและเหล็กกล้า และถ่านหิน
ความร่วมมือด้านการค้า
- ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือในกรอบคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-พม่า (Joint Trade Commission - JTC) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน โดยได้ประชุมครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2547 ที่กรุงย่างกุ้ง
- ในปัจจุบัน ภาคเอกชนไทยลงทุนในพม่ารวมทั้งสิ้น 56 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1,345.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 17.28 ของการลงทุนจากต่างประเทศในพม่าทั้งหมด โดยไทยมีมูลค่าการลงทุนในพม่าสูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากอังกฤษ ( 40 โครงการ 1,569.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และสิงคโปร์ (70 โครงการ 1,434.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) การลงทุนของไทยในพม่าที่สำคัญ ได้แก่ การลงทุนในสาขาพลังงาน (น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) ประมง อุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยว และการแปรรูปสินค้าเกษตรกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น