โครงการเมืองดานัง |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)
103.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
GDP รายบุคคล (GDP per Capita)
3,100 ดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
อัตราการเติบโตของ GDP
6.8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
GDP แยกตามภาคการผลิต
- ภาคการเกษตร 20.6%
- ภาคอุตสาหกรรม 41.1%
- ภาคการบริการ 38.3% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
โครงการพัฒนาสนามบินที่ดานัง |
ในระหว่างการประชุมสมัชชาพรรคฯ สมัยที่ 10 นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้แถลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปี 2549 - 2553 ซึ่งระบุถึงเป้าหมายและทิศทางของการพัฒนาประเทศในช่วง 5 ปีข้างหน้า ได้แก่
(1) ดำเนินการตามนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ (Doi Moi) เพื่อให้อัตราการเพิ่มของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเติบโตร้อยละ 8 หรือมากกว่าภายในปี 2553 (ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 94-98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
(2) สร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจการตลาดแบบสังคมนิยมเพื่อก้าวสู่ความ เป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและทันสมัยภายในปี 2563
(3) พัฒนา knowledge - based economy
(4) ปรับปรุงคุณภาพการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเร่งรัดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้ เวียดนามมีนโยบายเน้นหนักเรื่องการส่งเสริมธุรกิจเอกชน เร่งปฏิรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ และเชิญชวนนัก ลงทุนจากต่างประเทศ
โครงการรถไฟฟ้าสายแรกของเวียดนาม ฮานอย-โฮจิมิน |
ปัจจุบันมีการเร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจขนานใหญ่เพื่อรองรับ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น
- การตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามเมืองสำคัญ ๆ (ที่ จ.บาเรีย วุง เต่า ซึ่งอยู่ใกล้นครโฮจิมินห์)
- การปรับปรุงท่าเรือน้ำลึก (ดานัง และที่อ่าวคัมรานห์) และท่าอากาศยานนานาชาติให้ทันสมัย
- การเตรียมความพร้อมด้านพลังงานไฟฟ้า เวียดนามมีแผนการลงทุนโดยใช้งบประมาณหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อปรับปรุง โรงไฟฟ้าทั่วประเทศ
- การสร้างเขื่อนใหม่ที่ จ.เซินลา ทางภาคเหนือซึ่งจะเป็นเขื่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- การสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ โดยมีเป้าหมายให้สร้างเสร็จภายในปี 2563
- อุตสาหกรรม เวียดนามกำลังพัฒนาหลายด้านที่สอดคล้องกับสภาพและเงื่อนไข อาทิ
- อุตสาหกรรมต่อเรือ โดยปัจจุบันเวียดนามสามารถต่อเรือสินค้าขนาดระวาง 53,000 ตันได้ และตั้งเป้าที่จะต่อเรือขนาดระวาง 1 แสนตันในอนาคต โดยได้รับความร่วมมือด้านเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
ธนาคารในเวียดนาม |
แผนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ทางรัฐบาลเวียดนามทำขึ้น
- การสร้างความอยู่ดีกินดี มีโครงการส่งเสริมการจ้างงาน
- จัดอบรมวิชาชีพแก่ประชาชนกว่าล้านคน
- จัดส่งแรงงานไปต่างประเทศอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น โดยมีไต้หวัน มาเลเซีย และเกาหลีใต้ เป็นตลาดแรงงานสำคัญ
- ให้ความสำคัญกับการลดระดับความยากจน ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าเวียดนามประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ โดยได้รับการยอมรับจาก UNDP จากการที่เวียดนามสามารถลดระดับความยากจนจากร้อยละ 60 ในปี 2533 เป็นร้อยละ 18 ในปี 2547
โครงการพัฒนาต่างๆในเวียดนาม |
อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Price)
9% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
อัตราการว่างงาน
4.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
ผลผลิตทางการเกษตร
ข้าว กาแฟ ยาง ฝ้าย ชา พริกไทย ถั่วเหลือง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อ้อย ถั่วลิสง กล้วย สัตว์ปีก ปลา
อาหารทะเล
อุตสาหกรรม
แปรรูปอาหาร เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เครื่องจักร การทำเหมืองแร่ ถ่านหิน เหล็กหล้า ซีเมนต์ ปุ๋ยเคมี แก้ว ยางรถยนต์ น้ำมัน กระดาษ
อัตราการเติบโตของการผลิตภาคอุตสาหกรรม
14% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
หนี้สาธารณะ
57.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
ดุลบัญชีเดินสะพัด
ขาดดุล 12.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
มูลค่าการส่งออก
72.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
สินค้าส่งออกที่สำคัญ
น้ำมันดิบ ถ่านหิน สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า อาหารทะเล ข้าว ผลิตภัณฑ์ไม้ ยางพารา สิ้นค้าชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ สินค้าอิเลกทรอนิกส์และกาแฟ
ประเทศคู่ค้า (ส่งออก) ที่สำคัญ
สหรัฐ 20% ญี่ปุ่น 10.7% จีน 9.8% เกาหลีใต้ 4.3% (พ.ศ. 2553)
มูลค่าการนำเข้า
79.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
สินค้านำเข้าที่สำคัญ
วัตถุดิบ วัสดุเพื่อสิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จักรยานยนต์ รถยนต์
ประเทศคู่ค้า (นำเข้า) ที่สำคัญ
จีน 23.8% เกาหลีใต้ 11.6% ญี่ปุ่น 10.8% ไต้หวัน 8.4% ประเทศไทย 6.7% สิงคโปร์ 4.9% (พ.ศ. 2553)
ธนบัตรเวียดนาม 1000 ดอง |
ดอง หรือ ด่ง (Dong)
สัญลักษณ์เงิน
VND
การจราจรในเวียดนาม |
นโยบายเศรษฐกิจเวียดนาม
นโยบายของรัฐบาลปัจจุบันยังคงรักษาทิศทางเดิม กล่าวคือ เน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมตามนโยบาย "โด่ย เหมย" (Doi Moi) ซึ่งเข้าสู่ปีที่ 20 และขณะนี้มีการดำเนินการเร่งปรับตัวเข้ากับกระแสเศรษฐกิจและสังคมของโลก ซึ่งในภาพรวมถือว่าเป็นไปได้ด้วยดี ทำให้ปัจจุบันเวียดนามมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจในเชิงบวกอย่างต่อเนื่อง
- อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 8.4 ซึ่งสูงสุดในรอบ 9 ปี
- อัตราการเติบโตเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาร้อยละ 7.5 ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียรองจากจีน
- การส่งออกวัตถุดิบ (น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ) สิ่งทอ เครื่องหนังและสินค้าเกษตร ขณะที่การท่องเที่ยวและภาคบริการก็พัฒนาไปมากจากความสนใจของต่างประเทศ
- รัฐบาลได้พยายามปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ WTO (เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549)
- มีการปฏิรูปและการปรับปรุงกลไกภาครัฐ อย่างเร่งรีบ พร้อมทั้งได้พยายามศึกษาและเรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจาก หลายประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น