วิสัยทัศน์ของอาเซียน
- ประชาคมอาเซียนมีวิสียทันศ์ร่วมกันใน สามด้านด้วยกันคือ
- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
- ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
- ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
- เพื่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวและมีเอกภาพในการร่วมกันพัฒนาภูมิภาคให้ทัดเทียม
- วิสัยทัศน์ในด้านของการเมืองและความมั่นคงอาเซียน หากลองดูภาพด้านล่างจะเห็นได้ว่าการรวมกันของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนยังทำให้เกิดความสามัคคีในภูมิภาค และคอบช่วยเหลือด้านการทหาร หรือนโยบายทางการเมืองอื่นๆในอนาคตได้อีกด้วย
- ภาพด้านล่างนี้คือการแสดงอาณาเชตในพื้นที่ทับซ้อนซึ่งกันและกันของประเทศสมาชิกเองและประเทศจีน รวมทั้งไต้หวันด้วย พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในบริเวณทะเลจีนใต้ (ภายหลังเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์เปลี่ยนชื่อเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า ทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก) ซึ่งพื้นที่ที่ทับซ้อนกันอยู่ดังกล่าวคือ หมู่เกาะสแปรตลีย์ ที่ต่างเชื่อกันว่าอุดมไปด้วยทรัยากรธรรมชาติมากมาย อาทิเช่น ก๊าชธรรมชาติ รวมไปถึงน้ำมันดิบ
- วิสัยทัศน์ในด้านของเศรษฐกิจ
ถึงแม้ว่าอาเซียนจะประสบความสำเร็จในด้านการเสริมสร้างความมั่นคงและความร่วมมือในภูมิภาคจนเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ
แต่ก็ยังมีปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขให้ลุล่วงเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือและพัฒนาการในอนาคต
ที่สำคัญ คือ
ปัญหาความล่าช้าในการดำเนินงานและการที่ประเทศสมาชิกไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงต่าง ๆ
ดังจะเห็นได้ว่า ในแต่ละปีอาเซียนมีการประชุมกว่า 700 การประชุม รวมทั้งมีการประเมินว่า
ในบรรดาความตกลงทางเศรษฐกิจที่ประเทศสมาชิกจัดทำไว้ร่วมกันรวม 134 ฉบับ มีเพียง 87
ฉบับ ที่ได้ให้สัตยาบันและมีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 65 เท่านั้น
นอกจากนี้
ในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการจัดตั้งประชาคมภายในปี 2558 อาเซียนจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับประชาชนทั้งในเรื่องการให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมและรู้สึกเป็นเจ้าของประชาคมที่จะสร้างขึ้น
ทั้งนี้ บทเรียนจากสหภาพยุโรปชี้ให้เห็นว่า
ประชาคมจะไม่สามารถบรรลุผลได้หากประชาชนไม่ให้การสนับสนุน ดังนั้น
ในช่วงเวลานับจากนี้จนถึงปี 2558
ไทยจะพยายามผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ (Community
of Action) มีการเชื่อมโยงและติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
อย่างใกล้ชิด (Community of Connectivity) รวมทั้งเป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง (Community
of People)
ในประเด็นแรก ไทยจะผลักดันให้เร่งรัดการดำเนินการตามข้อตกลงต่าง
ๆ ของอาเซียนให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
โดยเลขาธิการอาเซียนจะมีบทบาทสำคัญในการติดตามให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามพันธกรณีต่าง
ๆ รวมทั้ง
จะต้องพัฒนากรอบความร่วมมือของอาเซียนให้สามารถแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชนได้อย่างทันท่วงที
เช่น
ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนป้องกันโรคต่าง
ๆ
หรือการนำความสำเร็จของกลไกสามฝ่ายระหว่างอาเซียน-สหประชาชาติและพม่าในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยจากไซโคลนนาร์กีสในพม่ามาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮิงญา
เป็นต้น
สำหรับการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในภูมิภาค
นั้น จะต้องดำเนินการทั้งในด้านกายภาพ คือ การพัฒนาเส้นทางคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ
และทางอากาศ ตลอดจนเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่าง ๆ
เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการติดต่อค้าขาย การท่องเที่ยว
และการเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนนอกจากนั้น
ยังต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมโยงในเชิงจิตวิญญาณ คือ
การทำให้ประชาชนในภูมิภาคมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและตระหนักถึงการเป็นประชากรของอาเซียนร่วมกัน
ถึงแม้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายในด้านเชื้อชาติ
และศาสนา แต่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ก็มีรากฐานทางประวัติศาสตร์และอารยะธรรมร่วมกัน
เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่เป็นจุดบรรจบของอารยะธรรมจีนและอินเดีย ดังนั้น
ประเด็นที่ท้าทายสำหรับอาเซียนในอนาคต ก็คือ การเสริมสร้างอัตลักษณ์ หรือ
คุณลักษณะร่วมกันของประชาชนในอาเซียน โดยผ่านการศึกษา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
สื่อสารมวลชน และการส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ
เพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจระหว่างประชาชนให้ยอมรับถึงความแตกต่างและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
นอกจากนี้
ยังมีความจำเป็นที่ที่จะต้องส่งเสริมให้ประชาชนของแต่ละประเทศมองประเทศ
เพื่อนบ้านอาเซียนในลักษณะที่เป็นมิตร
และไม่นำประเด็นความขัดแย้งในประวัติศาสตร์มาเป็นอุปสรรค
ต่อการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต ซึ่งในเรื่องนี้ ไทยจะริเริ่มให้มีการพิจารณาประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกันในเชิงความร่วมมือมากขึ้น
วิสัยทัศน์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ
และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง
และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ
ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย
- มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
- ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
- ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนา และช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
- ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาด ทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ
ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ
- สินค้าเกษตร
- สินค้าประมง
- ผลิตภัณฑ์ไม้
- ผลิตภัณฑ์ยาง
- สิ่งทอ
- ยานยนต์
- อิเล็กทรอนิกส์
- เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN)
- การบริการด้านสุขภาพ
- ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
- กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น