กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย |
238 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
GDP ประเทศมาเลเซีย , Wikipedia |
14,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
อัตราการเจริญเติบโต GDP
7.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
GDP แยกตามภาคการผลิต
- ภาคการเกษตร 13%
- ภาคอุตสาหกรรม 36%
- ภาคการบริการ 51% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
- มาเลเซียตะวันตก (บนคาบสมุทรมาเลเซีย): ยาง น้ำมันปาล์ม โกโก้ ข้าว
- รัฐซาบาห์: การเกษตรเพื่อดำรงชีพ ยาง ไม้ซุง มะพร้าว ข้าว
- รัฐซาราวัก: ยาง พริกไทย ไม้ซุง
- มาเลเซียตะวันตก (บนคาบสมุทรมาเลเซีย): ยาง กระบวนการแปรรูปและผลิตน้ำมันปาล์ม การทำเหมืองและถลุงแร่ดีบุก การแปรรูปไม้ซุง
- รัฐซาบาห์: การทำไม้ซุง การผลิตน้ำมันปิโตรเลียม
- รัฐซาราวัก: แปรรูปเกษตรกรรม การผลิตและการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การทำไม้ซุง
งาน Malaysia Job fair 2012 / ภาพ |
อัตราการว่างงาน
3.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)
1.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553) โดยมีการควบคุมราคาสินค้าประมาณ 30% ของสินค้าทั้งหมด
ผลผลิตทางการเกษตร
อุตสาหกรรม
อัตราการเกิบโตภาคอุตสาหกรรม
7.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
หนี้สาธารณะ
53.1% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
ดุลบัญชีเดินสะพัด
34.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
มูลค่าการส่งออก
197 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
สินค้าส่งออก
อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ การผลิตปิโตรเลียมและก๊าซเหลว ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ น้ำมันปาล์ม ยาง สิ่งทอ เคมีภัณฑ์
ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ
สิงคโปร์ 13.4% สหรัฐอเมริกา 9.5% จีน 12.6% ญี่ปุ่น 10.4% ไทย 5.3% ฮ่องกง 5.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
มูลค่าการนำเข้า
152.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
สินค้านำเข้า
อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม พลาสติก พาหนะ เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์
ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ
สิงคโปร์ 11.4% จีน 12.6% ญี่ปุ่น 12.6% สหรัฐอเมริกา 10.7% ไทย 6.2% อินโดนีเซีย 5.6% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
ธนบัตรสกุลเงิน ริงกิต |
ริงกิตมาเลเซีย (Ringgit)
สัญลักษณ์เงิน
MYR
อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา
คลิกเพื่อตรวจสอบอัตราการแลกเปลี่ยนจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารกลางประเทศมาเลเซีย |
- เปิดรับการค้า การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากตะวันตก เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2563 (Vision 2020) ตามที่อดีตนายกรัฐมนตรี ตุน ดร. มหาธีร์ บิน โมฮัมหมัด ได้ตั้งเป้าหมายไว้
- ใช้นโยบายการเมืองนำเศรษฐกิจเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์และโอกาสทางการค้าแก่ประเทศ
- ขยายการติดต่อด้านเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศกำลังพัฒนาเพื่อลดการพึ่ง พาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป อาทิ มาเลเซียในฐานะประธานองค์การการประชุมอิสลาม (Organisation of Islamic Conference - OIC) ให้ความสำคัญกับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก OIC (รวม 57 ประเทศ) โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ธนาคารอิสลาม การศึกษา และการท่องเที่ยว
- โดยจะลดความสำคัญของการลงทุนที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตที่ไม่ยั่งยืนและขาด ประสิทธิภาพ และให้ความสำคัญต่อประเด็นใหม่คือ การเติบโตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม โดยจะเน้นการลงทุนที่มีการค้นคว้าและวิจัย (R & D) และเทคโนโลยีสูง
- เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานความรู้ (knowledge-based economy) กระตุ้นและเพิ่มพลวัตรของภาคการเกษตร การผลิต และการบริการโดยการใช้ความรู้และเทคโนโลยีวิทยาการ
- เพิ่มการมีส่วนร่วมของภูมิบุตร ในภาคเศรษฐกิจชั้นนำ
- ปรับให้มีการพัฒนาการทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับสังคมบนฐานความรู้ (knowledge-based society)
- ช่วงที่ผ่านมามาเลเซียมีความสัมพันธ์ด้านการเมืองที่ไม่ราบรื่น นักกับประเทศตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐฯ เนื่องจากประเทศตะวันตกมองว่ารัฐบาลมาเลเซียมักใช้กฎหมายว่าด้วยความมั่นคง ภายใน (Internal Security Act - ISA) เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่มาเลเซียถือว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องภายในประเทศ และประเทศตะวันตกมักใช้ double standard ในการดำเนินนโยบายกับประเทศต่าง ๆ
- วิกฤตการณ์ด้านการเงินและการคลังที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ ในปัจจุบัน เป็นผลจากการเปิดเสรีด้านการเงินและการคลัง ซึ่งประเทศตะวันตกผลักดันอย่างแข็งขัน
ธนาคารกลางประเทศมาเลเซีย |
แม้ว่ารัฐบาลมาเลเซียจะประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและส่งผลให้ เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดในปี 2545 แต่ความสำเร็จดังกล่าวยังมีอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ แฝงอยู่ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของมาเลเซียโดยรวมได้
- การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (mega projects) ของรัฐบาลไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แม้ว่าในเบื้องต้นจะมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่หากโครงการเหล่านี้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
- โครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ ซึ่งปัจจุบันใช้งานไม่ถึงครึ่งของขีดความสามารถและยังไม่สามารถดึงดูดให้สาย การบินหลักๆ มาใช้บริการ
- โครงการ Cyberjaya ซึ่งยังไม่สามารถดึงดูดบริษัทชั้นนำของโลกให้เข้ามาลงทุนได้ตามเป้าหมายที่ กำหนด เป็นต้น
โครงการ Cyberjaya |
โครงการ Cyberjaya |
- อัตราการว่างงานที่ลดลง
- รายได้ประชาชาติต่อหัว เพิ่มขึ้น
- การกระจายรายได้ เพิ่มขึ้น
- รายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวที่เพิ่มขึ้น
- การลงทุนของบริษัทเอกชนและบริษัทที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น
- การได้ดุลบัญชีเดินสะพัด เพิ่มขึ้น
- การปรับอันดับความสามารถในการแข่งขัน (world competitive rankings) จากอันดับที่ 28 ในปี พ.ศ. 2548 เป็นอันดับที่ 19 ในปี 2551 เป็นต้น
กระทรวงการคลัง ประเทศมาเลเซีย |
เศรษฐกิจมาเลเซียไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐฯ มากนัก เนื่องจากภาคการเงินและการธนาคารสามารถป้องกันผลกระทบจากสหรัฐฯ และยุโรปได้ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม โดยที่ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของมาเลเซียประสบปัญหาและได้รับผลกระทบจากภาวะ เศรษฐกิจโลกถดถอย จึงส่งผลกระทบต่อการส่งออกและภาคบริการ (เช่น การท่องเที่ยว และการขนส่ง) และทำให้เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวได้น้อยลง ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียได้นำนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ มาปรับใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว
- การลดอัตราดอกเบี้ย
- การส่งเสริมการส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เอเชียตะวันออก อินเดีย และตะวันออกกลาง
- การส่งเสริมการลงทุนจากประเทศผู้ผลิตน้ำมัน
- ความมั่นคงทางการเมืองจะเป็นประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่นักลงทุนต่างชาติ จะใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเข้าไปลงทุนในมาเลเซีย
สถิติการค้า ไทย-มาเลเซีย |
10 อันดับแรกสินค้าที่ไทยนำเข้าจากมาเลเซีย |
10 อันดับแรกสินค้าที่ไหทยส่งออกไปประเทศมาเลเซีย |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น