ผลที่มีต่อประเทศไทยจาก AEC
- นักธุรกิจ รวมถึง SME: ได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดอาเซียนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ด้วยประชากรกว่า 590 ล้านคน ทั้งในด้านการส่งออกสินค้าไปขาย และการน าเข้าวัตถุดิบ สินค้ากึ่งส าเร็จรูปเพื่อน ามาใช้ในการผลิต ด้วยต้นทุนที่ลดลงจากการลด/ยกเลิกอุปสรรคทางการค้า ทั้งด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีใน อาเซียน รวมถึงการลด/ยกเลิกอุปสรรคด้านการค้าบริการและการลงทุน และการอ านวยความสะดวกทางการค้าการลงทุน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศสมาชิกที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันและสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของแต่ละประเทศได้อย่างเต็มที่
- นักลงทุน:ได้รับประโยชน์จากสิทธิในการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยจะได้รับการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติเสมือนนักลงทุนในประเทศ รวมถึงการได้รับความคุ้มครองการลงทุน นอกจากนี้ยังได้รับประโยชน์จากการรวมตัวของตลาดทุนและการเปิดเสรีบริการด้านการเงินในอาเซียน ท าให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น สนับสนุนการจัดท าธุรกิจร่วมทุนกับนักลงทุนในประเทศอาเซียนอื่น และช่วยความเสี่ยงจากการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ
- ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ:ได้รับประโยชน์จากการเคลื่อนย้ายเสรีแรงงานฝีมือในอาเซียน ท าให้มีโอกาสในการเข้าไปทำงานในประเทศอาเซียนอื่นได้ง่ายขึ้น และช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือภายในประเทศ
- ผู้บริโภค:ได้รับประโยชน์จากโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่หลากหลายและมีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม รวมถึงการได้รับความคุ้มครองการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในการบริโภคสินค้าบริการข้ามพรมแดน จากความร่วมมือของหน่วยงานที่รับผิดชอบในอาเซียน
- ประเทศไทยในภาพรวม: จะได้รับประโยชน์จาก
- การขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
- อัตราการจ้างงานภายในประเทศเพิ่มขึ้น
- ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งช่วยให้มีการ
- ถ่ายทอดเทคโนโลยีและกิจกรรมการค้นคว้าและวิจัยในประเทศเพิ่มขึ้น
- ประสิทธิภาพการผลิตและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในประเทศสูงขึ้นจากการปรับปรุงด้านการจัดสรรทรัพยากร และการลดต้นทุนการผลิตจาก economy of scale
- การมีส่วนร่วมในเครือข่ายการผลิตและห่วงโซ่อุปทานของโลก
- การเพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีระหว่างประเทศ
- การปฏิรูปโครงสร้างและกฎระเบียบภายในประเทศให้สอดคล้องกับพันธกรณีของ AEC ซึ่งจะสนับสนุนการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนในภูมิภาค
- การมีส่วนร่วมในเครือข่ายการผลิตและห่วงโซ่อุปทานของโลก
- การเพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีระหว่างประเทศ
- การปฏิรูปโครงสร้างและกฎระเบียบภายในประเทศให้สอดคล้องกับพันธกรณีของ AEC ซึ่งจะสนับสนุนการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนในภูมิภาค
- เนื่องจาก AEC ยังเป็นเรื่องที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ดังนั้นจึงไม่มีอะไรที่สามารถสรุปได้ว่าเป็นผลกระทบที่แท้จริงของประเทศได้ ดังนั้นผลกระทบดังกล่าวจึงเป็นแค่การคาดการณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น