วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

ผลการดำเนินงาน AEC Blueprint


ผลการดำเนินการตาม AEC Blueprint

ภาพจาก : ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์

v เขตการค้าเสรีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา
                        อาเซียนได้สรุปผลการเจรจา จัดทําเขตการค้าเสรีกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ โดยล่าสุดรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในความตกลง FTA อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และพิธีสารเพื่อรับไทยเข้าเป็นภาคีในความตกลงการค้าสินค้า และความตกลงการค้าบริการ ภายใต้กรอบ FTA อาเซียน-เกาหลี ไปในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั ้งที่ 14 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 สําหรับความตกลงด้านการลงทุนภายใต้กรอบอาเซียน-เกาหลี ได้สรุปผลและลงนามไปแล้วเช่นกัน เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2552นอกจากนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั ้งที่ 41 ที่ประเทศไทยเป็ นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2552 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนยังได้ลงนามในความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย และความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน-จีนไปแล้วด้วย


แนวทาง 
  1. เร่งประชาสัมพันธ์ และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับภาคการผลิต ผู้ประกอบการ และภาคเอกชนได้รับทราบและเข้ามาใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงต่างๆ เหล่านี้
  2.  เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน/เตรียมมาตรการรองรับผลกระทบสําหรับสาขาที่ไทยมีความอ่อนไหว


                   ประเทศค่เจรจาที่มีศักยภาพในอนาคต นอกจากประเทศคู่เจรจาดังกล่าวข้างต้นที่อาเซียนได้จัดทํา FTA ด้วยแล้ว ยังมีประเทศคู่เจรจาที่อาเซียนให้ความสนใจที่จะจัดทํา FTA ด้วยอีกหลายกลุ่ม อาทิ MERCOSUR (ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง มีสมาชิก 4 ประเทศ คือ อาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย อุรุกวัย) และ GCC (คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ มีสมาชิก 6 ประเทศ คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ คูเวต โอมาน บาห์เรน) ซึ่งขณะนี้ อาเซียนอยู่ระหว่างการศึกษาและประเมินความเป็นไปได้และจะเสนอผลการศึกษาได้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2553

          แนวทาง    ในส่วนของไทย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้มีโครงการจ้างศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดทํา FTA ในกรอบ ASEAN-MERCOSUR และ ASEAN-GCC แล้วเช่นกัน ซึ่งเป็นโครงการที่ทําคู่ขนานไปกับการศึกษาในกรอบของอาเซียน คาดว่า จะสรุปผลการศึกษาได้ในเดือนกรกฎาคม 2553 และมีนาคม 2553 ตามลําดับ

          การขยาย FTA ของอาเซียนออกไปในกรอบภูมิภาคเอเชียตะวันออก ในอนาคตอันใกล้ยังมีความเป็ นไปได้ที่อาเซียนจะขยายการจัดทํา FTA ออกไปในกรอบที่กว้างขวางขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในกรอบอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่ น เกาหลีใต้) ที่เรียกว่า East Asia Free Trade Area (EAFTA) หรือในกรอบอาเซียน +6 (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่ น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ที่เรียกว่า Comprehensive Economic Partnership in East Asia (CEPEA)  ซึ่งขณะนี้ อาเซียนได้จัดตั้งคณะทํางานขึ้น 4 คณะ (กฎว่าด้วยถิ่นกําเนิดสินค้า การจําแนกพิกัดศุลกากร พิธีการศุลกากร ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ) เพื่อพิจารณาประเด็นในด้านเทคนิคแล้ว   

แนวทาง
  1. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อคิดเห็นและท่าทีไทยประกอบการประชุมในระดับคณะทํางานทั้ง 4 คณะ 5
  2. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศอยู่ระหว่างการจ้างศึกษาความเป็ นไปได้ของการจัดทํา FTA ในกรอบอาเซียน+3 และอาเซียน +6 เช่นกัน คาดว่า ในเดือนสิงหาคม 2553 น่าจะได้รับผลการศึกษาที่จะนํามาใช้ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจได้

v การเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) ได้ลดภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียน เป็น 0 % และ CLMV ได้ลดภาษีสินค้ามาอยู่ที่ระดับ 0 – 5 % แล้ว

มีการทบทวนและปรับปรุงกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าของอาเซียนให้ง่าย ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายสินค้าและสนับสนุนให้ภาคเอกชนใช้สิทธิประโยชน์จากเขตการค้าเสรีอาเซียนเพิ่มขึ้น

สมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย) ได้ยกเลิกมาตรการที่เป็นการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีหมดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ส่วนฟิลิปปินส์จะยกเลิกภายใน 1 มกราคม 2555 และ CIMV ภายใน 1 มกราคม 2558ได้จัดทำ ASEAN Trade Facilitation Framework ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานด้านการอำนวยความสะถดวกทางการค้า รวมถึงแผนงานเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี ได้แก่ พิธีการศุลกากร กระบวนการทาบการค้า มาตรฐานและการรับรอง มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ASEAN Single Window และ ASEAN Trade Repository เป็นต้น

v การเคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี 
สรุปผลการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการไปแล้ว 5 รอบ โดยจัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการไป 7 ชุด ครอบคลุมทั้งด้านการเปิดตลาด (Market Access) และการให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment: NT) โดยมีเป้าหมายการเปิดเสรีสาขาบริการสำคัญ 4 สาขา ได้แก่
ท่องเที่ยว ICT สุขภาพ และสาขาการบิน ภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) ส่วนสาขาโลจิสติกส์ ภายในปี 2556 (2013) สำหรับสาขาบริการอื่น ๆ ได้กำหนดเป้าหมายไว้ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015)

ณ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการจัดทำข้อผูกพัน ฯ ชุดที่ 8 โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามพิธีสารเพื่อ อนุมัติข้อผูกพันชุดที่ 8 ภายใต้ ASEAN Framework Agreement on Services          (AFAS) ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2553 ณ ประเทศเวียดนาม

v การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี
ได้ทบทวนกรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน (Framework Agreement of the ASEAN Investment Area : AIA)   และความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน หรือ ASEAN IGA (ASEAN Agreement for the promotion and protection of Investment ) และได้ปรับปรุงผนวกความตกลงทั้งสอบฉบับเป็น ความตกลงว่าด้วยการลงทุนเต็มรูปแบบของอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement  ACIA) มีสาระสำคัญ 4 ด้าน คือเปิดเสรี การส่งเสริม การอำนวยความสะดวก และการคุ้มครองการลงทุน โดยครอบคลุมทั้งการลงทุนทางตรง (Foreign Direct Investment     FDI) และการลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio  Investment  )

ณ ปัจจุบัน สมาชิกอาเซียน 8 ประเทศ (ยกเว้นอินโดนีเซีย และไทย) ได้ให้สัตยาบันความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Agreement on Investment : ACIA) แล้ว

ขณะนี้อินโดนีเซียอยู่ระหว่างการจัดทำรายการข้อสงวน (Reservation  List) และไทยอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ Reservation List และการให้สัตยาบัน

v การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น   
ดำเนินงานตามแผนงานการรวมกลุ่มทางการเงินและการคลังของอาเซียน มีสาระสำคัญ 3 ด้าน คือ
  1. การเปิดเสรีบริการทางการเงิน (Financial Liberalization) เจรจาทำข้อผูกพันการเปิดตลาดบริการทางการเงินไปแล้ว 5 รอบ
  2. การเปิดเสรีบัญชีทุน (Capital Account Liberalization) มีการผ่อนปรนข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายเงินทุน รวมถึงบัญชีเดินสะพัด และการลงทุนในหลักทรัพย์ตามความเหมาะสม
  3. การพัฒนาตลาดทุน (Capital Market Development) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเชื่อมโยงตลาดทุนในอาเซียน

v การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี   มีการจัดทำ และลงนามข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมในคุณสมบัติวิชาชีพ สำหรับ 7สาขา ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ นักบัญชี วิศวกร พยาบาล สถาปนิก และนักสำรวจ ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการให้มีผลใช้บังคับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น