ศูนย์รวมเศรษฐกิจ กรุงมะนิลา |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)
188.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
GDP รายหัว
3,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
อัตราการเจริญเติบโต GDP
7.3% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
GDP แยกตามภาคการผลิต
- ภาคการเกษตร 12.3%
- ภาคอุตสาหกรรม 32.6%
- ภาคการบริการ 55.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
แรงงานในฟิลิปปินส์ |
7.3% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)
3.8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
อ้อย มะพร้าว ข้าว ข้าวโพด กล้วย มันสำปะหลังอัดเม็ด สัปปะรด มะม่วง เนื้อสุกร ไข่ เนื้อวัว ปลา
พื้นที่เกษตรกรรม |
อุตสาหกรรม
ประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ แปรรูปอาหาร กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ตกปลา
อัตราการเกิบโตภาคอุตสาหกรรม
23.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
หนี้สาธารณะ
52.4% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
ดุลบัญชีเดินสะพัด
9.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
ท่าเรือ |
มูลค่าการส่งออก
50.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
สินค้าส่งออก
ผลิตภัณฑ์สารกึ่งตัวนำและอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์การขนส่ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทองแดง ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม น้ำมันมะพร้าว ผลไม้
ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ
สหรัฐ 13.4% ญี่ปุ่น 12.8% จีน 19% ฮ่องกง 7.6% เกาหลีใต้ 4.1% เยอรมนี 4.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
มูลค่าการนำเข้า
61.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
สินค้านำเข้า
ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า แร่เชื้อเพลิง เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง เหล็กและเหล็กกล้า สิ่งทอ ธัญพืช เคมีภัณฑ์ พลาสติก
ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ
สหรัฐอเมริกา 9.9% ญี่ปุ่น 14.1% สิงคโปร์ 9.3% จีน 13.6% เกาหลีใต้ 5.6 ไทย 6.5%, อินโดนีเซีย 4.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
ธนบัตรสกุลเงินเปโซ |
สกุลเงิน
เปโซ (Philippine Peso)
สัญลักษณ์เงิน
PHP
นโยบายเศรษฐกิจและสังคม
2.1 รัฐบาลจะลงทุนอย่างต่อเนื่องในโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สาธารณสุข การสร้างงาน รวมทั้งมีเป้าหมายที่จะให้มีงบประมาณสมดุลในปี 2551 ในปี 2549 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 5.4 และมีแนวโน้มที่ดีทั้งในตลาดหุ้น การส่งออก การลงทุน การจ้างงาน และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลยืนยัน
อดีตประธานาธิปดี อาร์โรโย |
2.2 แผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจใหม่ของฟิลิปปินส์ตามถ้อยแถลงของประธานาธิบดีอาร์โรโย เมื่อ 24 กรกฎาคม 2549 จะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการแบ่งเขตที่จะพัฒนาออกเป็น 5 เขต (Mega Regions) คือ ลูซอนเหนือ เมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์กลาง มินดาเนา และไซเบอร์ คอร์ริดอร์ เพื่อให้สามารถทุ่มงบประมาณเข้าไปพัฒนาพื้นที่หลักทางเศรษฐกิจตรงเป้าหมาย และครอบคลุม รวมทั้งเป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนา เศรษฐกิจมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์พยายามลดเงื่อนไขที่จะเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจใน ฟิลิปปินส์ เพื่อกระตุ้นการลงทุนและการค้า โดยเฉพาะด้าน การท่องเที่ยวและการส่งออก
ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ |
2.3 ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจฟิลิปปินส์คือ แรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศส่งเงินกลับประเทศเพิ่มขึ้น เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเงินทุนสำรองต่างประเทศเพิ่มขึ้น การส่งออกและธุรกิจภาคบริการขยายตัว และอัตราเงินเฟ้อลดลง ส่วนปัจจัยด้านลบ ได้แก่ ปัญหาจากภัยก่อการร้าย ซึ่งกดดันบรรยากาศการลงทุนของประเทศ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐฯ และจีน ที่คาดว่าจะส่งผลให้สินค้าส่งออกของฟิลิปปินส์ไปประเทศเหล่านี้ชะลอตัว ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง และมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTBs) ในรูปแบบต่างๆ
ตลากหลักทรัพย์ประเทศฟิลิปปินส์ |
2.4 ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของฟิลิปปินส์ ได้แก่ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน ปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมือง และอุปสรรคจากความล่าช้าของขั้นตอนการดำเนินงานภาครัฐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อบรรยากาศด้านการลงทุนและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการกระจายรายได้และการปฏิรูปที่ดินที่ล่าช้า ทำให้พื้นที่การเกษตรโดยเฉลี่ยลดลง
มูลค่าการค้าไทย - ฟิลิปปินส์
สถิติการค้าไทย-ฟิลิปปินส์ |
10 อันดับแรกสินค้าที่ไทยนำเข้าจากฟิลิปปินส์ |
10 อันดับแรกสินค้าที่ไทยส่งออกไปฟิลิปปินส์ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น