วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้อมูลเศรษฐกิจประเทศลาว (Laos Economy)

ภาวะเศรษฐกิจของ สปป.ลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับ โดยในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการตลาดเมื่อปี 2529 สปป.ลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2529 เป็น 491 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเป็นสาขาหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ

ระบบเศรษฐกิจ
เริ่มปฏิรูปจากระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการตลาด ตามนโยบาย "จินตนาการใหม่" เมื่อปี 2529
จีดีพีประเทศลาวจาก Wikipedia

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)
6.341 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

GDP รายหัว
2,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

อัตราการเจริญเติบโต GDP
7.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

GDP แยกตามภาคการผลิต

  • ภาคการเกษตร 29.2 %
  • ภาคอุตสาหกรรม 32.4%
  • ภาคการบริการ 38.3% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)
5.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

ผลผลิตทางการเกษตร
หัวมันฝรั่งหวาน ผัก ข้าวโพด กาแฟ อ้อย ยาสูบ ฝ้าย ชา ถั่วลิสง ข้าว กระบือ สุกร ปศุสัตว์ สัตว์ปีก

อุตสาหกรรม
ทองแดง ดีบุก ทองคำ เหมืองแร่ยิปซัม พลังงานไฟฟ้า แปรรูปผลผลิตเกษตร การก่อสร้าง เสื้อผ้าสำเร็จรูป การท่องเที่ยว ซีเมนต์

อัตราการเติบโตการผลิตภาคอุตสาหกรรม
17.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

ดุลบัญชีเดินสะพัด
-195 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

พรมแดน ไทย-ลาว
มูลค่าการส่งออก
1.474 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

สินค้าส่งออก
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ
ไทย 31.1% จีน 23% เวียดนาม 12.9% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

มูลค่าการนำเข้า
2.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

สินค้านำเข้า
รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ
ไทย 65.6% จีน 14.6% เวียดนาม 6.68% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

สกุลเงิน
กีบ (Kip)


สัญลักษณ์เงิน
LAK
ธนบัตรลาว



ตลาดหลักทรัพย์ประเทศลาว

การลงทุน
รัฐบาลลาวได้ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการ ลงทุนมากยิ่งขึ้น อาทิ มาตรการด้านภาษี อนุญาตให้นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงจำปาสัก และแขวงหลวงพระบาง มีอำนาจอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าไม่เกิน ๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนแขวงอื่น ๆ สามารถอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าลงทุนไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในลาวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2546 มีมูลค่า 465 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2547 มีมูลค่า 533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี พ.ศ. 2548 มีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย จีน

ข้อมูลทางเศรษฐกิจระหว่างไทย กับ ประเทศลาว

สถิติการค้า ไทย-ลาว

10 อันดับแรกที่ไทยนำเข้าจากลาว

10 อันดับแรกที่ไทยส่งออกไปลาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น